สำนวนสุภาษิตไทยที่เกี่ยวกับน้ำ

น้ำเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของทุกคน และน้ำก็ถูกนำมาใช้ในสำนวนสุภาษิตไทยมากมาย มีคำอะไรบ้างมาดูกันครับ

สำนวนสุภาษิตไทยที่เกี่ยวกับน้ำมีดังนี้

  • กินน้ำใต้ศอก หมายถึง จำต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า
  • เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง หมายถึง เกลียดตัวเขาแต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา
  • กินน้ำไม่เผื่อเเล้ง หมายถึง มีอะไรใช้หมดทันทีไม่คิดถึงวันข้างหน้า
  • กวนน้ำให้ขุ่น หมายถึง ทำเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา
  • กระดี่ได้น้ำ หมายถึง อาการแสดงความดีใจ หรือตื่นเต้นจนตัวสั่น
  • กรวดน้ำคว่ำขัน หมายถึง ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
  • ขนมพอผสมกับน้ำยา หมายถึง ของที่มีอัตราส่วนที่พอดี
  • คว้าน้ำเหลว หมายถึง ไม่ได้ผลตามต้องการ
  • ใช้นํ้าเย็นเข้าลูบ หมายถึง พูดจาโลมเล้าหว่ายล้อมเพื่อให้ใจอ่อน
  • ชักแม่น้ำทั้งห้า หมายถึง พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์
  • ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน หมายถึง ชักนำศัตรูเข้าบ้าน
  • ได้แกงเทน้ำพริก หมายถึง ลืมของเก่าเมื่อได้ขอใหม่
  • ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึง ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน
  • ตักน้ำใส่กระโหลก ชะโงกดูเงา หมายถึง ให้รู้จักฐานะของตนและเจียมตัว
  • ตักน้ำรดหัวตอ หมายถึง แนะนำพร่ำสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล
  • ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ หมายถึง ตกอยู่ในที่คับขันอย่างไรก็ไม่เป็นอันตราย, ตกอยู่ที่ใดก็ไม่สูญหาย
  • ถ่มน้ำลายขึ้นฟ้า รดหน้าตัวเอง หมายถึง การคิดร้ายหรือดูหมิ่นบุคคลที่สูงกว่า
  • ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ หมายถึง สิ่งที่มีอยู่หรือเกิดตามธรรมชาติ อันอาจนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
  • น้ำผึ้งหยดเดียว หมายถึง เรื่องเล็กๆ ก็ทำให้มันเป็นเรื่องใหญ่ได้
  • ในน้ำมีปลาในนามีข้าว หมายถึง ดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์
  • น้ำลดตอผุด หมายถึง เมื่อหมดอำนาจ ความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ
  • น้ำหนึ่งใจเดียวกัน หมายถึง มีความคิดเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
  • น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย หมายถึง คำพูดที่ไพเราะอ่อนหวาน ซึ่งถูกใจผู้ฟัง แต่อาจเป็นโทษเป็นภัยได้
  • น้ำมาปลากินมดน้ำลดมดกินปลา หมายถึง ทีใครทีมัน
  • นํ้าพึ่งเรือเสือพึ่งป่า หมายถึง การพึ่งพาอาศัยกัน, ความสามัคคี
  • น้ำซึมบ่อทราย หมายถึง หามาได้เรื่อย ๆ
  • น้ำนิ่งไหลลึก หมายถึง คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง
  • น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ หมายถึง ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้างมาก
  • น้ำท่วมปาก หมายถึง พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น
  • นํ้าท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง หมายถึง พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย
  • น้ำตาลใกล้มด หมายถึง ชายหญิงที่ใกล้ชิดกันมากย่อมห้ามใจไม่ให้รักกันได้ยาก
  • น้ำขุ่นไว้ในน้ำใสไว้นอก หมายถึง แม้จะไม่พอใจก็ยังแสดงสีหน้ายิ้มแย้ม
  • น้ำขึ้นให้รีบตัก หมายถึง มีโอกาสดีควรรีบทำ
  • น้ำกลิ้งบนใบบอน หมายถึง คนใจไม่แน่นอน กับกลอก
  • บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น หมายถึง รู้จักผ่อนปรนเข้าหากัน มิให้กระทบกระเทือนใจกัน
  • ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม หมายถึง ยังเป็นเด็ก
  • ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ หมายถึง พูดดีแต่ใจคิดร้าย
  • ปั้นน้ำเป็นตัว หมายถึง สร้างเรื่องเท็จให้เห็นเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา
  • ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ หมายถึง ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลังอีก
  • มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หมายถึง ไม่ช่วยแล้วยังขัดขวางการทำงานของผู้อื่น
  • ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา หมายถึง ไม่เห็นผลลัพธ์ที่น่าสลด ก็จะไม่สำนึกกับการกระทำที่ไม่ดีของตน
  • ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกโก่งหน้าไม้ หมายถึง ด่วนทำไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันควร
  • มะนาวไม่มีน้ำ หมายถึง คำพูดที่ไม่ไพเราะ พูดห้วนๆ
  • เลือดข้นกว่าน้ำ หมายถึง ญาติพี่น้องย่อมดีกว่าคนอื่น
  • สอนจระเข้ว่ายน้ำ หมายถึง สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว
  • หวังน้ำบ่อหน้า หมายถึง ของที่ได้แน่นอนแล้วไม่เอา กลับไปคาดหวังกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
  • อาบเหงื่อต่างน้ำ หมายถึง การทำงานหนัก ใช้ความพยายามอย่างมาก
  • อาบน้ำร้อนมาก่อน หมายถึง เกิดก่อนจึงมีประสบการณ์มากกว่า

-------------- advertisements --------------

-------------- advertisements --------------

Comments

Scroll To Top