QA (Quality Assurance) คือ การรับประกันในระดับคุณภาพของสินค้าหรือบริการต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในตัวสินค้าหรือบริการนั้นๆ สำหรับผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการต่างๆ โดยผ่านกระบวนการตรวจสอบ หรือการ QA จากเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรง คือจะมีทั้งขั้นตอนในการวางแผนกระบวนการในการทำงานร่วมกับฝ่ายผลิต หรือฝ่าย QC โดยฝ่าย QC นี้จะคอยควบคุมให้การผลิตสินค้าต่างๆ ออกมาให้ได้ตามที่ฝ่าย QA ได้วางไว้ และหลังจากผ่านกระบวนการ QC เรียบร้อยแล้ว ฝ่าย QA นี้ก็จะมาทำการตรวจสอบอีกครั้งว่าตรงกับที่วางไว้หรือไม่
หน้าที่หลักๆ ของการ QA
ในเมื่อการ QA นั้นเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจในคุณภาพของสินค้าและบริการให้ได้คุณภาพ ดังนั้น ผู้ที่มีหน้าที่ในการ QA จากบริษัทหรือองค์กรต่างๆ เหล่านี้ จึงต้องจัดกระบวนการ QA ให้ได้คุณภาพและมาตรฐานตามไปด้วย โดยมีหน้าที่หลักๆ ดังนี้
– จะต้องทำการตรวจสอบสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด โดยการคัดแยกของไม่ดีหรือของเสียออกจากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เหลือแต่ของดีสำหรับส่งมอบให้แก่ลูกค้าเท่านั้น
– จะต้องมีการควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานเสมอ โดยเฉพาะหลังจากผ่านการ QC แล้ว ต้องทำการตรวจสอบให้ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
– ต้องมีการรับประกันในเรื่องคุณภาพหลังจากที่ลูกค้าได้นำสินค้ากลับไปใช้งานแล้ว และต้องรับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาดใดๆ ขึ้นหลังผ่านการ QA เรียบร้อยแล้ว
– ต้องมีการนำมาตรฐานมารองรับ โดยให้ได้มาตรฐานสากล

การทำ QA ที่ได้มาตรฐาน ส่งผลดีโดยตรงต่อคุณภาพของสินค้า
ข้อดีของการ QA ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน
– ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในสินค้าและบริการ และกลับมาใช้บริการใหม่ รวมถึงมีการบอกกันแบบปากต่อปากถึงคุณภาพในสินค้าและบริการนั้นๆ
– เป็นการลดต้นทุน หรือประหยัดทุนในการผลิต ทำให้ไม่ต้องกลับไปเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ตามมา จากการ QA ที่ไม่ได้มาตรฐาน
– เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท หรือองค์กรต่างๆ รวมทั้งแบรนด์สินค้าหรือบริการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ การ QA ก็เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจและพึงพอใจให้แก่ลูกค้าทุกๆ คน กับผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทหรือองค์กรนั้นๆ ว่ามีคุณภาพและเหมาะสมกับราคา โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาแพง ซึ่งเมื่อลูกค้าพึงพอใจ ทางบริษัทต่างๆ ก็มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับในวงกว้างจากลูกค้าทุกระดับต่อๆ ไป
-------------- advertisements --------------