หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า GDP มาจากข่าวเศรษฐกิจทั้งในโทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่หนังสือพิมพ์ จนอดสงสัยไม่ได้ว่าแท้จริงแล้ว GDP คืออะไรกันแน่…? แล้วเกี่ยวข้องอย่างไรกับเศรษฐกิจ ซึ่งอันที่จริงแล้ว GDP เป็นความรู้เบื้องต้นในวิชาสังคมศึกษา ที่ทุกคนต่างก็ต้องเคยเรียนมาทั้งนั้น แต่ด้วยความที่มันซับซ้อนและน่าเบื่อเกินไปสำหรับเด็กวัยเรียนจึงทำให้หลายคนไม่ได้สนใจจนลืมไปแล้วว่า GDP คืออะไร…?
GDP คืออะไร…?
Simon Kuznets ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซียที่คิดค้น GDP ขึ้นโดยย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า Gross Domestic Product แต่สามารถแยกความหมายออกมาได้ดังต่อไปนี้
G – Gross หมายถึง เบื้องต้น
D – Domestic หมายถึง ท้องถิ่นหรือภายในประเทศ
P – Product หมายถึง ผลิตภัณฑ์รวมของประเทศซึ่งประกอบไปด้วยสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นภายในประเทศทั้งหมด

ขนาด GDP ของแต่ละประเทศ
ดังนั้น GDP คือ “ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ” ซึ่งหมายถึง ผลรวมทั้งหมดของสินค้าและบริการที่ผลิตภายในประเทศในแต่ละปี ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจระบบตลาด ทั้งยังเป็นตัวชี้วัดแนวทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการบริหารประเทศของรัฐบาลในแต่ละประเทศทั่วโลกอีกด้วย หรืออาจพูดให้เข้าใจความหมายง่ายๆว่า GDP เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจซึ่งดูจากผลรวมรายได้ของสินค้าและบริการภายในประเทศนั่นเอง

รายได้จากงานบริการ หนึ่งในตัวแปรสำคัญของการคำนวณ GDP
การวัด GDP ทำได้อย่างไร…?
โดยในการวัดค่า GDP นั้นสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การวัดจากรายจ่ายสินค้าและบริการ ส่วนอีกวิธีคือการวัดจากรายได้การขายสินค้าและบริการ ซึ่งขั้นตอนในการจัดทำค่า GDP ส่วนใหญ่นั้นมักจะได้ข้อมูลไม่ค่อยชัดเจน เนื่องจากปัจจัยความบกพร่องหลายอย่างภายในประเทศ ทำให้ค่า GDP ที่ได้นั้นไม่สามารถวัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงของคนในประเทศได้ แต่ก็สามารถบ่งบอกได้ว่าเศรษฐกิจภายในประเทศของแต่ละปีมีการเติบโตขึ้น หรือลดลงมากน้อยเพียงใด
ดังนั้น GDP จึงเป็นการวัดรายได้รวมของประเทศจากสินค้าและบริการทั้งหมดภายในประเทศ ซึ่งจะสามารถบ่งบอกได้ว่าสภาพเศรษฐกิจของประเทศในแต่ละปีนั้นเติบโตขึ้น หรือลดลงจำนวนเท่าใด และเป็นแนวทางสำคัญที่จะใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจต่อไป…
-------------- advertisements --------------