DNA (Deoxy-ribonucleic acid) หรือที่เรียกว่า สารพันธุกรรม นั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก โดยกรดนิวคลีอิกที่มีหน้าที่คอยทำการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งโดยมักอยู่ในรูปของโครโมโซมในนิวเคลียสที่อยู่ในเซลล์ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ทั้งคน, พืช, สัตว์, แบคทีเรีย, ไวรัส หรือเชื้อรา เป็นต้น คือจะเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไว้ โดยเป็นการถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน หรือที่เราเห็นกันในปัจจุบันทางการแพทย์ ที่หากอยากพิสูจน์ว่าเป็นพ่อแม่ลูกกันจริงหรือไม่ แพทย์ก็จะทำการตรวจ DNA จากเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเราว่าตรงกันหรือไม่ และหากมี DNA ตรงกัน ก็ถือว่ามีความสัมพันธ์เป็นพ่อแม่ลูกกัน
ลักษณะโดยทั่วไปของ DNA
DNA จะมีลักษณะบิดตัวเป็นเกลียวคู่ ซึ่งนั่นก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ ที่ภายในประกอบไปด้วยฟอสเฟต, น้ำตาล และเบส โดยนิวคลีโอไทด์นี้จะมีอะดีนีน, ไซโทซีน, กัวนีน และไทมีน ซึ่งจะเชื่อมต่อกับเบส และอะดีนีนจะเชื่อมต่อกับไทมีน ส่วนไซโทซีนจะเชื่อมต่อกับกัวนีน ทำให้เกิดเป็นข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสใน DNA ซึ่งรวมตัวกันเป็นเส้นบิดเป็นเกลียวคู่นั่นเอง

แบบจำลอง DNA ของมนุษย์
หน้าที่สำคัญของ DNA มีอะไรบ้าง?
1. การจำลองตัวเอง โดย DNA จะมีความสามารถในการจำลองตัวเองในขณะที่เกิดกระบวนการแบ่งเซลล์ที่เป็นการสร้าง DNA ให้เหมือนเดิมที่สุดสำหรับเซลล์ใหม่
2. การถ่ายทอดข้อมูลผ่านอาร์เอ็นเอ โดย DNA จะถูกถอดรหัสเพื่อสร้างอาร์เอ็มเอ ที่มีหน้าที่ในการกำหนดให้กรดอะมิโนในกระบวนการสังเคราะห์ของโปรตีนเรียงตัว และโปรตีนที่ได้นี้จะถูกนำมาเป็นส่วนประกอบภายในโครงสร้างส่วนต่างๆ ในเซลล์ของร่างกายเรา ตลอดจนช่วยเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ในสิ่งมีชีวิตต่างๆ อีกด้วย
ซึ่งด้วยหน้าที่หลักอันสำคัญของ DNA ทั้งสองอย่างนี้ ทำให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ในโลกนี้สามารถสืบทอดลักษณะความเป็นเผ่าพันธุ์ของตนอยู่ได้ โดยมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น โดยจากเกลียวที่พันกันอยู่นั้นจะเพิ่มขนาดขึ้นจนเป็นโครโมโซมที่ทำให้ลูกมีโครโมโซมเหมือนกับพ่อแม่ คือได้รับโครโมโซมทั้งจากพ่อครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งหนึ่งได้จากแม่ และนั่นจึงทำให้ลูกมี DNA ที่เหมือนกันกับทั้งพ่อและแม่นั่นเอง
-------------- advertisements --------------