
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ประวัติ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ อดีตนายกรัฐมนตรี 3 สมัย
เกิด | วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2462 |
ชื่อเล่น / ชื่ออื่น / ฉายา | เตมีย์ใบ้, นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา, ป๋าเปรม, พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
บิดา | รองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) |
มารดา | นางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์) |
ภูมิลำเนา | ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
การศึกษา | – โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา – โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย – โรงเรียนเทคนิคทหารบก (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) รุ่นที่ 5 – โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ |
พี่น้องร่วมบิดามารดา | นายชุบ ติณสูลานนท์ นายเลข ติณสูลานนท์ นางขยัน ติณสูลานนท์ นายสมนึก ติณสูลานนท์ นายสมบุญ ติณสูลานนท์ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ด.ญ.ปรี ติณสูลานนท์ (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย) นายวีรณรงค์ ติณสูลานนท์ |
ช่วงเวลาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี | ครั้งที่ 1 ช่วงวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 29 เมษายน พ.ศ. 2526 ครั้งที่ 2 ช่วงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2526 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ครั้งที่ 3 ช่วงวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 รวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 8 ปี 5 เดือน |
นายกรัฐมนตรีคนก่อนหน้า | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
นายกรัฐมนตรีคนถัดไป | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ประวัติการทำงาน | – นายทหารสังกัดกองทัพบก เข้าร่วมรบในสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2 – ผู้บัญชาการทหารบก – สมาชิกวุฒิสภา – สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ – สมาชิกสภานิติบัญญัติ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม – นายกรัฐมนตรี คนที่ 16 ของประเทศไทย – องคมนตรี – รัฐบุรุษ – ประธานองคมนตรี – ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า) – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 (เสนางคะบดี) (ส.ร.) – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.) – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ – เหรียญจักรมาลา – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1) – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 – The Royal Order of the Polar Star ขั้นสูงสุด – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ขั้นสูงสุด |
เกร็ดความรู้ | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นับได้ว่าเป็นปูชนียบุคคลด้านการทหาร การเมืองและการปกครองคนหนึ่งของประเทศไทย หลังจากการเลือกตั้งวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นได้เชิญป๋าเปรมขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเป็นสมัยที่ 4 แต่ป๋าเปรมตอบว่า “ผมพอแล้ว” ทำให้พลเอกชาติชาย ชุญหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งได้จำนวน ส.ส. มากที่สุด ได้รับการลงคะแนนให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของไทย
สมัยยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั่น ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ยังแผ่อิทธิพลอยู่ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย แต่พลเอกเปรม สามารถเอาชนะคอมมิวนิสต์ได้ด้วยนโยบายอันโด่งดัง คือ นโยบาย 66/2523 หรือ 66/23 ซึ่งใช้การเมืองนำทหาร ทำให้ลัทธิคอมมิวนิสต์อ่อนแอลงและพ่ายแพ้ไปในที่สุด พลเอกเปรม เป็นคนพูดน้อย ไม่พูดโดยไม่จำเป็น ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ป๋าเปรมให้สื่อมวลชนน้อยมาก จนสื่อมวลชนยกฉายา ” เตมีย์ใบ้” ให้ ส่วนฉายา “นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา” ได้มาจากผลงานการปราบปรามกบฏเมษาฮาวายและกบฎ 9 กันยา หรือกบฎสองพี่น้อง เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ภายหลังการปฏิเสธการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 4 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2541 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นประธานองคมนตรี |
-------------- advertisements --------------