เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คือ พื้นที่ที่ หรือ เขตพื้นที่ที่กำหนดขึ้น เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าอย่างปลอดภัย เพื่อที่สัตว์ป่าในพื้นที่นั้นๆ จะได้มีโอกาสเจริญเติบโต และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติไดอย่างเสรี ไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ ทำให้สัตว์ป่าบางส่วนมีโอกาสกระจายจำนวนออกไปในท้องที่แหล่งอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ตลอดจนลดโอกาสการสุญพันธ์ของสัตว์ป่าด้วย ในประเทศไทยนั้นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามักเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติที่มีผืนป่าอุดทสมบูรณ์

————– advertisements ————–

รายชื่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในประเทศไทย มีดังนี้

  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่
    ที่ตั้ง : จังหวัดชลบุรี
    เนื้อที่ : 90,437 ไร่

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่เขาบรรทัด
    ที่ตั้ง : จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา
    เนื้อที่ : 791,847 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่เขาประ-บางคราม
    ที่ตั้ง : จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง
    เนื้อที่ : 97,700 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่เขาสนามเพรียง
    ที่ตั้ง : จังหวัดกำแพงเพชร
    เนื้อที่ : 63,125 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่เขาสอยดาว
    ที่ตั้ง : จังหวัดจันทบุรี
    เนื้อที่ : 465,602 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่เขาอ่างฤาไน
    ที่ตั้ง : จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง
    เนื้อที่ : 674,352 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ
    ที่ตั้ง : จังหวัดนราธิวาส
    เนื้อที่ : 124,275 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่เชียงดาว
    ที่ตั้ง : จังหวัดเชียงใหม่
    เนื้อที่ : 325,625 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่เวียงลอ
    ที่ตั้ง : จังหวัดพะเยา
    เนื้อที่ : 231,875 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่แม่เลา-แม่แสะ
    ที่ตั้ง : จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    เนื้อที่ : 321,250 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่แม่จริม
    ที่ตั้ง : จังหวัดอุตรดิตถ์
    เนื้อที่ : 412,500 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่แม่ตื่น
    ที่ตั้ง : จังหวัดตาก
    เนื้อที่ : 733,125 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่แม่น้ำภาชี
    ที่ตั้ง : ราชบุรี
    เนื้อที่ : 305,820 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่แม่ยวมฝั่งขวา
    ที่ตั้ง : จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    เนื้อที่ : 182,500 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่โตนงาช้าง
    ที่ตั้ง : จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล
    เนื้อที่ : 113,721 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่โตนปริวรรต
    ที่ตั้ง : จังหวัดพังงา
    เนื้อที่ : 138,712.50 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่คลองเครือหวาย
    ที่ตั้ง : จังหวัดจันทบุรี
    เนื้อที่ : 165,796 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่คลองแสง
    ที่ตั้ง : จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    เนื้อที่ : 722,067 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่คลองนาคา
    ที่ตั้ง : จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    เนื้อที่ : 331,456 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่คลองพระยา
    ที่ตั้ง : จังหวัดกระบี่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    เนื้อที่ : 95,988 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่คลองยัน
    ที่ตั้ง : จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    เนื้อที่ : 305,000 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ควนแม่ยายหม่อน
    ที่ตั้ง : จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง
    เนื้อที่ : 290,000 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ซับลังกา
    ที่ตั้ง : จังหวัดลพบุรี
    เนื้อที่ : 96,875 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ดงใหญ่
    ที่ตั้ง : จังหวัดบุรีรัมย์
    เนื้อที่ : 195,486 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ดอยเวียงหล้า
    ที่ตั้ง : จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    เนื้อที่ : 291,610 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ดอยผาเมือง
    ที่ตั้ง : จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง
    เนื้อที่ : 364,449 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ดอยผาช้าง
    ที่ตั้ง : จังหวัดพะเยา
    เนื้อที่ : 356,926 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ดอยหลวง
    ที่ตั้ง : จังหวัดแพร่
    เนื้อที่ : 60,625 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ตะเบาะ-ห้วยใหญ่
    ที่ตั้ง : จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
    เนื้อที่ : 408,707 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ถ้ำเจ้าราม
    ที่ตั้ง : จังหวัดสุโขทัย จังหวัดลำปาง
    เนื้อที่ : 213,171 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออกและตะวันตก
    ที่ตั้ง : จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดตาก
    เนื้อที่ : 2,279,500 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ทุ่งระยะ-นาสัก
    ที่ตั้ง : จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร
    เนื้อที่ : 211,650 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่น้ำปาด
    ที่ตั้ง : จังหวัดอุตรดิตถ์
    เนื้อที่ : 320,197 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ผาผึ้ง
    ที่ตั้ง : จังหวัดชัยภูมิ
    เนื้อที่ : 118,403 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่พนมดงรัก
    ที่ตั้ง : จังหวัดศรีสะเกษ
    เนื้อที่ : 197,500 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ภูเขียว
    ที่ตั้ง : จังหวัดชัยภูมิ
    เนื้อที่ : 975,000 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ภูเมี่ยงและภูทอง
    ที่ตั้ง : จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิษณุโลก
    เนื้อที่ : 435,320 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ภูค้อและภูกระแต
    ที่ตั้ง : จังหวัดเลย
    เนื้อที่ : 145,285 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ภูผาแดง
    ที่ตั้ง : จังหวัดเพชรบูรณ์
    เนื้อที่ : 146,845 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ภูวัว
    ที่ตั้ง : จังหวัดหนองคาย
    เนื้อที่ : 116,562 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ภูสีฐาน
    ที่ตั้ง : จังหวัดมุกดาหาร
    เนื้อที่ : 189,541 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ภูหลวง
    ที่ตั้ง : จังหวัดเลย
    เนื้อที่ : 560,593 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ยอดโดม
    ที่ตั้ง : จังหวัดอุบลราชธานี
    เนื้อที่ : 140,845 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ลำน้ำน่านฝั่งขวา
    ที่ตั้ง : จังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์
    เนื้อที่ : 146,875 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ลุ่มน้ำปาย
    ที่ตั้ง : จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    เนื้อที่ : 738,085 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่สลักพระ
    ที่ตั้ง : จังหวัดกาญจนบุรี
    เนื้อที่ : 536,594 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่สะเมิง
    ที่ตั้ง : จังหวัดเชียงใหม่
    เนื้อที่ : 121,250 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่สันปันแดน
    ที่ตั้ง : จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    เนื้อที่ : 173,125 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่สาละวิน
    ที่ตั้ง : จังหวัดแม่ฮ่องสอน
    เนื้อที่ : 546,875 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ห้วยขาแข้ง
    ที่ตั้ง : จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก
    เนื้อที่ : 1,737,587 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
    ที่ตั้ง : จังหวัดสุรินทร์
    เนื้อที่ : 313,750 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ห้วยศาลา
    ที่ตั้ง : จังหวัดศรีสะเกษ
    เนื้อที่ : 237,500 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่อมก๋อย
    ที่ตั้ง : จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก
    เนื้อที่ : 765,000 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่อุทยานเสด็จในกรม ทิศเหนือ
    ที่ตั้ง : จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร
    เนื้อที่ : 415,620 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่อุทยานเสด็จในกรม ทิศใต้
    ที่ตั้ง : จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง
    เนื้อที่ : 196,875 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่อุ้มผาง
    ที่ตั้ง : จังหวัดตาก
    เนื้อที่ : 1,619,280 ไร่
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ฮาลา-บาลา
    ที่ตั้ง : จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา
    เนื้อที่ : 270,725 ไร่

หลักในการเลือกพื้นที่เพื่อกำหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
– เป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าชนิดที่หายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์อาศัยอยู่
– มีแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร เป็นที่หลบภัยสำหรับสัตว์เพียงพอ ตลอดจนเป็นแหล่งที่ห่างจากชุมชนพอสมควรและถูกรบกวนน้อย
– เป็นพื้นที่ที่ไม่อยู่ในกรรมสิทธิ์หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใด ซึ่งมิใช่ทบวงทางการเมือง

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
– เป็นการป้องกันมิให้สัตว์ป่าที่หาได้ยากต้องสูญพันธุ์
– สัตว์ป่าที่มีอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้รับความคุ้มครองและปลอดภัยทำให้สามารถสืบพันธุ์และเพิ่มจำนวนมากขึ้น สัตว์ป่าที่เพิ่มขึ้นนี้ จะมีโอกาสกระจายไปยังป่าส่วนอื่นๆ ต่อไป
– เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นต้นน้ำลำธาร เมื่อได้จัดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าขึ้นแล้ว บรรดาต้นไม้ พรรณไม้ทุกชนิด ตลอดจนสภาพของต้นน้ำลำธาร แหล่งน้ำ ดิน หิน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ จะได้รับการคุ้มครองป้องกันไว้เป็นอย่างดี เป็นการรักษาป่าไม้ไว้ไม่ให้ถูกทำลาย ทำให้ป่าต้นน้ำคงอยู่เพื่อช่วยหล่อเลี้ยงแม่น้ำสายต่าง ๆ ให้มีน้ำไหล ตลอดปี
– บรรดาสัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จะเป็นเครื่องดึงดูดให้นักทัศนาจร ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าไปเที่ยว ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และจะนำมาซึ่งรายได้ของประชาชนในท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย
– เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นเสมือนห้องทดลองค้นคว้าทางวิชาการอันกว้างใหญ่สำหรับศึกษาค้นคว้า ทางวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะสาขาชีววิทยา

จึงถือได้ว่าการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ป่าไม้ แหล่งต้นน้ำลำธาร ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ภายในเขตฯให้คงอยู่ตลอดไปได้ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมวิทยาการด้านสัตว์ป่าและชีววิทยาให้กว้างขวางก้าวหน้ายิ่งขึ้น

หมายเหตุ ขอบคุณข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

-------------- advertisements --------------

-------------- advertisements --------------

Comments

Scroll To Top