รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีมาแล้วกี่ฉบับ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือกฏหมายสูงสุดของประเทศไทย เริ่มมีการประกาศใช้ตั้งแต่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อปี พ.ศ.2475 โดยที่พระบทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้ทรงพระราชทานธรรมนูญการปกครอง หรือ รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว

————– advertisements ————–

อนึ่ง กฏหมายรัฐธรรมนูญนับว่าเป็นกฏหมายที่สำคัญที่สุดและมีศักดิ์สูงที่สุดของไทย กฏหมายหรือข้อกำหนดอื่นจะขัดแย้งกับกฏหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

นับตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา ประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

โดยทั่วไปประเทศไทยของเราจะมีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นมาใหม่ภายหลังจากการปฏิวัติรัฐประหาร หรือมีความขัดแย้งกันมาในการบังคับใช้กฏหมายรัฐธรรมนูญ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ถูกร่างขึ้นหลังการยึดอำนาจโดย คปค. (ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คมช. หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ในภายหลัง) ในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ไม่ได้ถูกร่างขึ้นภายหลังการปฏิวัติรัฐประหาร แต่ถูกร่างขึ้นเพราะมีความขัดแย้งเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ความต้องการเปลี่ยนกฏหมายให้ดีขึ้น ปรับปรุงระบบการเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด มีการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญขึ้นมา แต่ความแตกต่างของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ 2540 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และผ่านการรับรองโดยสมาชิกรัฐสภา (ส.ส. และ ส.ว.) ในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ร่างโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และผ่านการลงประชามติโดยประชาชนคนไทยทั้งประเทศ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับนั้น ทางผู้ร่างได้นำเอาข้อดีของกฏหมายรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆทั่วโลกมาเป็นหลัก แล้วปรับแต่งให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมและจารีตประเพณีของไทย ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะนำมาจากกฏหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมัน เป็นต้น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่บังคับอยู่ในปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเริ่มประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

-------------- advertisements --------------

-------------- advertisements --------------

Comments

Scroll To Top