ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร มีกฎระเบียบในการครอบครองอย่างไรบ้าง

ที่ดิน ส.ป.ก. คือ ที่ดินบริเวณที่ได้ประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งจะอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยไม่สามารถนำมาออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ หรือจะเรียกกันง่ายๆ ก็คือ ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นที่ดินที่ทางภาครัฐยกให้แก่เกษตรกรเพื่อสำหรับใช้เป็นที่ดินในการทำมาหากินด้านการเกษตร

หมายเหตุ : ส.ป.ก. ย่อมาจาก สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

————– advertisements ————–

กฎระเบียบในการครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. 4-01
– ผู้ที่สามารถครอบครองที่ดินเหล่านี้ได้จะต้องเป็นเกษตรกร หรืออาจมีประสบการณ์ทางด้านการเกษตรมาก่อน
– ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 นี้ ห้ามผู้ครอบครองขาย หรือเปลี่ยนมือให้แก่ผู้อื่น ยกเว้นการเป็นมรดกตกทอดให้แก่ทายาทต่อไป
– ที่ดินนี้จะต้องใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร ห้ามนำมาใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นเด็ดขาด
– หากเมื่อไหร่ที่ที่ดินนี้ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว ทางผู้ครอบครองต้องคืนให้แก่รัฐบาล
– หากเป็นที่ดินที่อยู่ในเขตป่าสงวน หรือเขตอุทยาน หรือบนที่เนินที่ลาด 35 ดีกรี หรือมากกว่านี้ บุคคลไม่สามารถครอบครองได้
– บุคคลผู้ครอบครองที่ดินนี้ได้จะครอบครองได้ไม่เกิน 25 ไร่ ส่วนครอบครัวมีสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินไม่เกิน 50 ไร่

ที่ดิน ส.ป.ก.

ที่ดิน ส.ป.ก. ห้ามซื้อขาย แต่สามารถตกทอดถึงลูกหลานได้

ที่ดิน ส.ป.ก. สำคัญอย่างไร?
สำหรับที่ดิน ส.ป.ก. นั้นได้ออกมาตามประกาศเป็น ส.ป.ก. 4-01 โดยเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ในปี 2518 เป็นพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิที่ให้ประชาชนสามารถเข้าไปทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินด้านเกษตรกรรมได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำมาทำประโยชน์อย่างอื่นได้ ทั้งนี้ ผู้ครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 นี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีฐานะการเงินยากจนเท่านั้น นอกจากนี้ เอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ยังไม่อนุญาตให้มีการทำการซื้อ-ขายที่ดินโดยหากมีการซื้อ-ขายในช่วงเวลาที่เอกสารสิทธินี้ยังมีผลอยู่ก็จะถือว่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลใดๆ ทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม สามารถทำการแบ่งแยก หรือโอน หรือเป็นมรดกตกทอดไปยังบุคคลอื่นในครอบครัวได้ ไม่ว่าจะเป็น บิดา มารดา สามี ภรรยา หรือบุตร เป็นต้น มีสิทธิเช่าหรือเช่าซื้อเพื่อการเกษตรกรรมเท่านั้น โดยไม่อนุญาตให้เช่าเพื่อจุดประสงค์อื่นใด และจะจดทะเบียนจำนองไม่ได้ ยกเว้นแต่ว่าจะเป็นโครงการจากทางรัฐบาลที่อนุญาตให้ใช้เอกสารสิทธิเป็นประกัน ซึ่งสิทธิของที่ดินนั้นก็ยังเป็นของทางภาครัฐอยู่ ซึ่งหากเราไม่ต้องการก็สามารถคืนที่ดินให้แก่ภาครัฐได้ และในขณะเดียวกันหากรัฐได้ตรวจสอบแล้วพบว่าเราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินในการทำกิน ทางภาครัฐก็สามารถเรียกคืนที่ดินจากเราได้เช่นเดียวกัน

-------------- advertisements --------------

-------------- advertisements --------------

Comments

Scroll To Top